เพิ่มความแข็งแรงของข้อมือและป้องกันการบาดเจ็บของข้อมือจากการเล่นพิคเคิลบอล
Share
เข้าใจสาเหตุของอาการปวดข้อมือจากกีฬาพิคเคิลบอล
อาการปวดข้อมือจากกีฬาพิคเคิลบอลมีหลายสาเหตุ หนึ่งในสาเหตุหลัก คือ การใช้งานอย่างต่อเนื่อง การขยับข้อมือซ้ำ ๆ ขณะตีลูกพิคเคิลบอลและการสะบัดข้อมือเร็ว ๆ ที่อาจส่งผลเสียต่อข้อต่อข้อมือและกล้ามเนื้อรอบข้าง หากทำแบบนี้นานๆ อาจนำไปสู่ภาวะอักเสบและอาการปวดข้อมือเรื้อรังได้
การใช้เทคนิคที่ไม่ถูกต้องเป็นอีกสาเหตุสำคัญของอาการปวดข้อมือ ผู้เล่นหลายคนอาจไม่ทราบรูปแบบและเทคนิคที่ถูกต้องในการตีลูกพิคเคิลบอล ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดการใช้งานข้อมือมากเกินไป ตัวอย่างเช่น การใช้แรงสะบัดข้อมือมากเกินไปขณะตีลูก แทนที่จะอาศัยกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่ข้อมือได้
ท่าเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือและแขน
ท่าหมุนข้อมือบนโต๊ะ
เป็นท่าบริหารง่ายๆ แต่ได้ผลดี ช่วยเพิ่มระดับการเคลื่อนไหวและความยืดหยุ่นของข้อมือ เพียงหมุนข้อมือเป็นวงกลม เริ่มจากทิศทางตามเข็มนาฬิกา (clockwise) แล้วจึงเปลี่ยนไปเป็นทิศทางทวนเข็มนาฬิกา (counterclockwise)
- นั่งสบาย ๆ โดยวางแขนไว้บนโต๊ะ กำมือ แล้วปล่อยห้อยลงมาจากขอบโต๊ะ
- หมุนข้อมือเป็นวงกลมช้าๆ เริ่มต้นในทิศทางตามเข็มนาฬิกา (clockwise) จากนั้นเปลี่ยนไปเป็นทวนเข็มนาฬิกา (counterclockwise) ทำซ้ำ สลับทิศทางไปมาในแต่ละรอบ
- หมุน 10 ครั้งต่อทิศทาง
- ทำ 2 เซ็ต ทำท่าบริหารนี้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์
ควรผ่อนคลายข้อมือตลอดท่าบริหารนี้ เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ เน้นการควบคุมการเคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจากการบริหารข้อมือด้วยท่านี้
ยืดปลายแขนด้วยท่านั่ง
การยืดปลายแขนด้วยท่านั่งช่วยยืดกล้ามเนื้อด้านล่างของปลายแขน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
- นั่งสบายๆ ยืดแขนข้างหนึ่งออกไปข้างหน้า เหยียดแขนตรง หงายฝ่ามือขึ้น
- ใช้มืออีกข้างค่อย ๆ กดฝ่ามือลงเข้ามาเบา ๆ และกดเข้าหาลำตัว เพื่อยืดกล้ามเนื้อแขนด้านหน้า
- ยืดค้างไว้ 30 วินาที
- ทำ 3 เซ็ต และทำ 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ควรใช้แรงดึงเบาๆ เพื่อป้องกันการยืดเกิน คุณควรจะรู้สึกยืด ไม่ใช่เจ็บ หากรู้สึกไม่สบาย ให้ลดแรงดึง
ยืดเหยียดข้อมือ
ท่าบริหารปลายแขนโดยการนั่งยืดนี้จะช่วยยืดกล้ามเนื้อด้านบนของปลายแขน ซึ่งเป็นการเสริมท่าบริหารปลายแขนโดยการยืดออก เพื่อให้มีความยืดหยุ่นของข้อมืออย่างสมดุล
- ยื่นแขนข้างหนึ่งไปข้างหน้า เหยียดแขนตรง คว่ำฝ่ามือลง จากนั้นใช้มืออีกข้างค่อยๆ กดหลังมือของคุณเข้าหาแขน
- จำนวนครั้ง: ยืดค้างไว้ 30 วินาที
- ทำ 3 เซ็ต บริหารท่านี้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์
ควรกดอย่างเบามือเพื่อป้องกันการยืดเกิน ควรให้รู้สึกยืดที่ด้านบนของปลายแขน โดยไม่ให้เกิดอาการเจ็บ
ยืดนิ้วหัวแม่โป้งและข้อมือด้านบน
- ยื่นแขนขวาออกไปแล้วกำมือรอบนิ้วหัวแม่โป้ง
- กำมืองอลงมาทางพื้น
- คุณจะรู้สึกยืดที่ด้านบนของข้อมือและนิ้วหัวแม่โป้งของคุณ
- ยืดค้างไว้ 10 วินาที แล้วทำซ้ำกับอีกข้าง
ฝึกบริหารข้อมือเป็นรูปเลขแปด
- ประสานมือ โดยให้ข้อศอกแนบข้างลำตัว
- วาดมือเป็นรูปเลขแปด ค้างไว้ 10 วินาที
- ทำซ้ำตามต้องการ
ท่าบริหารข้างต้นเหล่านี้ ควรทำได้เป็นประจำและเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เล่นพิคเคิลบอลเป็นประจำ นี่จะช่วยให้กล้ามเนื้อข้อมือของผู้เล่นแข็งแรงขึ้น และป้องกันไม่ให้ข้อมืออักเสบในขณะเล่นหรือหลังเล่นพิคเคิลบอล
การวอร์มร่างกายและการคูลดาวน์เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่ข้อมือ
การวอร์มร่างกายและการคูลดาวน์เป็นวิธีป้องกันอาการบาดเจ็บที่ข้อมือ การวอร์มอัพร่างกายอย่างถูกวิธี ช่วยเตรียมกล้ามเนื้อและข้อต่อให้พร้อมสำหรับการเล่นกีฬา ในขณะที่การคูลดาวน์ ช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูและลดตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
ก่อนเล่นผู้เล่นควรออกกำลังกายแบบไดนามิก ที่เน้นกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือและปลายแขน ซึ่งรวมถึงการหมุนข้อมือ การยืดนิ้วและการเหวี่ยงแขน การยืดเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อ และช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น
หลังจากเล่น ผู้เล่นควรยืดแบบคงที่ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว และป้องกันอาการบาดเจ็บ ซึ่งรวมถึงการยืดเหยียดข้อมือ การยืดปลายแขนด้านหน้าและด้านหลัง การยืดแต่ละท่า ใช้เวลายึดนาน 15-30 วินาที เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาการปวดข้อมือจากการเล่นพิคเคิลบอลสามารถป้องกันได้โดยการใช้เทคนิคการตีที่ถูกต้อง การวอร์มอัพร่างกายก่อนและหลังเล่น การใช้อุปกรณ์ที่พอดีกับสรีระ การพักเบรคระหว่างเล่นและการออกกำลังกายข้อมือเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อมืออยู่เสมอ