กฎ Two-Bounce Rule กับ Double Bounce เหมือนกันหรือไม่?

กฎ Two-Bounce Rule กับ Double Bounce เหมือนกันหรือไม่?

กีฬาที่มีไม้ตีส่วนใหญ่จะมีกฏการตีลูกและกฏการให้ลูกเด้งลงพื้นก่อนตี ในพิคเคิลบอลก็เช่นเดียวกัน พิคเคิลบอลมีกฎ 2 อย่างที่เรียกว่า two-bounce และ double-bounce ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจในทั้งสองกฏนี้ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่?

กฎ double-bounce คืออะไร

กฎนี้เป็นการปล่อยให้ลูกบอลตกกระทบพื้นสนามฝั่งตัวเองสองครั้งก่อนจะตีกลับไปอีกฝั่ง หากตีรับลูกก็จะเป็นการฟาวล์

กฎ two-bounce คืออะไร

กฎนี้เป็นกฎที่ช่วยป้องกันการวอลเล่ย์หลังการเสิร์ฟ โดยจะต้องให้ลูกตกกระทบพื้น 2 ครั้งหลังจากเสิร์ฟทุกครั้ง ลูกบอลจะต้องตกพื้นก่อนรับทั้ง 2 ฝั่งสนามก่อนจะเริ่มตีลูกกลางอากาศหรือวอลเล่ย์ได้

  1. ลูกเสิร์ฟ (ครั้งที่ 1) ต้องเสิร์ฟเฉียงไปยังช่องเสิร์ฟฝั่งตรงข้าม ลูกต้องตกลงพื้นก่อน (Bounce)
  2. หลังจากลูกเสิร์ฟตกลงพื้น ฝ่ายรับ (Receiving team) จะต้องตีลูกกลับ (ครั้งที่ 2)
  3. เมื่อลูกตกลงพื้นอีกครั้ง ฝ่ายเสิร์ฟ (Serving team) ก็สามารถตีลูกวอลเล่ย์กลับได้ (ครั้งที่ 3)

ถ้าไม่มีกฎนี้ ก็จะมีการจบแรลลี่ (Rally) ด้วยลูกตอบโต้การเสิร์ฟหรือลูกที่สามมากขึ้น ซึ่งจะตัดความสนุกและความเป็นเอกลักษณ์ของกีฬาพิคเคิลบอลออกไป

ความแตกต่างของกฎ two-bounce และ double-bounce

สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองกฎนี้คือ ตัวเลข 2 แต่ทั้งคู่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

กฎ two-bounce มีขึ้นเพื่อลดข้อได้เปรียบจากการเสิร์ฟและการตีลูกกลางอากาศหรือวอลเล่ย์ โดยกำหนดให้ลูกบอลต้องตกลงพื้นสนามของทั้งสองฝั่งก่อนการตีกลับไป ส่วนกฎ double-bounce เป็นข้อผิดพลาดที่ปล่อยให้ลูกเด้งลงพื้นสนาม 2 ครั้งในฝั่งเดียวกัน ซึ่งเป็นลูกเสียทันที

การเข้าใจผิดระหว่างกฎ Two-Bounce กับกฎ Double Bounce ในกีฬา Pickleball

กฎ Two-Bounce เป็นส่วนสำคัญของกีฬา Pickleball เสมอมา แต่เดิมทีไม่ได้เรียกว่ากฎ Two-Bounce จนกระทั่งปี 2018 กฎนี้เคยถูกเรียกว่ากฎ Double Bounce มาก่อน! แต่เนื่องจากคำว่า Double Bounce มีความหมายอีกอย่างที่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิงภายในกีฬาชนิดเดียวกัน ทำให้เกิดความสับสนระหว่างกฎ Two-Bounce และกฎ Double Bounce อยู่บ่อยครั้ง

กีฬาพิคเคิลบอลเป็นกีฬาชนิดเดียวที่มีกฎเดียวอย่าง Double bounce  แต่มี 2 ความหมาย และเมื่อเกิดการเปลี่ยนชื่อเป็น two-bounce แล้วก็ยิ่งสร้างความสับสนให้ผู้เล่นอยู่ ตอนนี้คุณก็สามารถแยกความแตกต่างของทั้งสองกฎนี้ได้แลเว พร้อมได้รู้เบื้องหลังที่ทำให้เกิดความสับสนในการเรียกใช้กฎสองอย่างนี้ด้วย

Back to blog