การป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่น Pickleball

การป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่น Pickleball

อีกหนึ่งเกมกีฬาที่เล่นกันแบบเอาจริงเอาจริง แต่มีชื่อค่อนข้างตลกอย่าง Pickleball เป็นกีฬาที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐอเมริกา (DeMelo 2022) โดยพิคเคิลบอลเป็นการผสมผสานระหว่างเทนนิส แบดมินตัน และปิงปอง ซึ่งมีการเล่นทั้งประเภทเดี่ยวและคู่ ในร่มและกลางแจ้ง เป็นกีฬาที่สามารถเล่นได้ตลอดทั้งปี

เนื่องจากเป็นกีฬาที่กำลังได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ผู้ฝึกสอนจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจในเรื่องชีวกลศาสตร์และการเคลื่อนไหวของกีฬานี้ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและเพิ่มประสิทธิภาพในการเล่นให้ดีขึ้น แต่ก่อนอื่นเรามาเรียนรู้ถึงประโยชน์ของการเล่นพิคเคิลบอลด้านสุขภาพกันก่อนดีกว่า

ประโยชน์ของการเล่นพิคเคิลบอล

Pickleball ถือเป็นกีฬาที่ให้ทั้งความสนุกสนาน การเข้าสังคมและการร่วมมือกันเป็นทีม ส่วนประโยชน์ในเรื่องของสุขภาพนั้นมีมากมาย ดังต่อไปนี้:

  • เป็นกีฬาที่ได้ออกกำลังกายในทุกส่วน
  • ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวในการใช้ชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น
  • ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายส่วนล่าง
  • ช่วยเพิ่มความสมดุลในแก่ร่างกาย
  • ช่วยเพิ่มประสาทสัมผัสระหว่างมือ ตาและกล้ามเนื้อ
  • ช่วยเพิ่มการดูดซึมออกซิเจน
  • ลดความดันโลหิต
  • ลดคลอเลสเตอรอล
  • ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น
  • ช่วยให้สุขภาพดี
  • เพิ่มความมั่นใจในการเคลื่อนไหว

(ที่มา: Webber 2022; ACE 2018; DeMelo 2022; Wray et al. 2021; Lavine 2021)

ชีวกลศาสตร์ของการเล่น Pickleball

การเข้าใจในการเคลื่อนไหวของร่างกายสำหรับการเล่นพิคเคิลบอลจะช่วยให้คุณสามารถเลือกวิธีการบริหารร่างกายที่ถูกต้องและเหมาะสมได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดโอกาสในการได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาชนิดนี้ได้ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อผู้ที่เลือกออกกำลังกายแบบไดนามิกด้วย

การตีแบบ Groundstroke (หงายหน้ามือ)

การตีแบบ groundstroke

การตีแบบ Groundstroke ในพิคเคิลบอลมีลักษณะคล้ายกันกับเทนนิส โดยการตีแบบกราวด์สโตรกแบบหงายหน้ามือด้านล่าง จะใช้สำหรับการเสิร์ฟลูก

ซึ่งการตีในลักษณะนี้จำเป็นต้องมีการผสานกันกับร่างกายส่วนอื่นๆ ด้วย คือ การใช้สะโพกและกระดูกสันหลังหมุนลำตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อเหวี่ยงสวิง โดยจะต้องใช้แขนและหัวไหล่แกว่งไม้พิคเคิลบอลไปมา ตามรูปที่ 1 ซึ่งจะต้องย่อเข่าและสะโพกลงระดับปานกลางเพื่อช่วยรักษาสมดุลและถ่ายเทน้ำหนักในระหว่างการตีได้ และควรโน้มตัวไปข้างหน้าได้ตามทิศทางที่ต้องการส่งลูกไป

การตีแบบ Dinks และ volleys

การตีแบบ Dinks และ volleys

วิธีการตีแบบนี้จะใช้เมื่อผู้เล่นก้าวไปข้างในสนามบริเวณห้องครัว (พื้นที่ใกล้ตาข่าย) ซึ่งผู้เล่นจำเป็นต้องเคลื่อนไหวให้เร็วเพื่อสกัดลูกบอล รวมถึงการตีกลับลุกที่อยู่ต่ำกว่าตาข่าย ตามภาพที่ 2

การเคลื่อนไหวให้รวดเร็วจากด้านหนึ่งเพื่อไปอีกด้านหนึ่ง ผู้เล่นจะต้องย่อตัวลงต่ำ โดยบิดข้อเท้า งอเข่าและสะโพก เพื่อเคลื่อนตัวเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว นอกจากการย่อเข่าลงต่ำแล้ว ยังต้องให้กระดูกสันหลังโค้งไปข้างหน้า ให้แขนและไหล่อยู่ในระดับขนานกับไม้พิคเคิลบอล ไม่บิดข้อมือขณะตีลูก

การตีลูกเหนือศีรษะ

การตีลูกเหนือศีรษะ

การตีลูกเหนือศีรษะจะถูกใช้ตีลูกเมื่อผู้เล่นฝั่งตรงข้ามส่งลูกข้ามศีรษะมา แม้การตีแบบนี้จะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย แต่คุณการควรเรียนรู้กลไกการเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจจจะเกิดขึ้นได้ โดยเมื่อต้องการจะตีลูกลักษณะนี้จะต้องยกมือขึ้นเหนือศีรษะ โดยร่างกายทั้งหมดจะต้องยืดออก ไม่ว่าจะเป็นข้อเท้า เข่า สะโพก และกระดูกสันหลัง ตามภาพที่ 3

สรุปการเคลื่อนไหวทั้งหมด

สรุปได้ว่า คุณจะต้องบริหารร่างกายหลายส่วน เพื่อให้สามารถเล่นพิคเคิลบอลได้อย่างถูกต้อง และไม่ได้รับบาดเจ็บ ดังนี้

  1. ให้ฝึกขยับแขนและหัวไหล่ไปทุกทิศทาง
  2. ฝึกบิด งอ และยืด กระดูกสันหลังให้ตรง
  3. บิด ย่อและขยับสะโพกไปมา
  4. งอเข่า
  5. บิดและหมุนข้อเท้า

ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าคุณสามารถเคลื่อนไหวได้ทุกส่วนตามที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อคุณจะสามารถเพลิดเพลินจากการเล่นได้อย่างเต็มที่และไม่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นพิคเคิลบอลที่อาจจะเกิดขึ้นได้

สาเหตุและอาการบาดเจ็บทั่วไปที่เกิดขึ้นจากการเล่น Pickleball

pickleball injury

ข้อมูลจาก Greiner (2019) เกี่ยวกับอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยจากการเล่นพิคเคิลบอลนั้น เกี่ยวข้องกับความตึงและการฉีดขาดของเนื้อเยื่อบริเวณหะวเข่า หลังส่วนล่าง เท้า ข้อเท้า และหัวไหล่

หัวเข่า

สำหรับการตึงและฉีกขาดของเอ็นด้านข้างและตรงกลางเข่าทั้งสองข้าง ถือเป็นอาการบาดเจ็บจากการเล่นพิคเคิลบอลที่พบบ่อยที่สุด เนื่องจากหัวเข่าที่อยู่ระหว่างข้อเท้าและสะโพกไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามทิศทางเดียวกับข้อเท้าหรือสะโพกและหากสะโพกหรือข้อเท้าขาดความคล่องตัว หัวเข่าก็จะเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บได้

หลังส่วนล่าง

อาการตึงที่กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างเป็นอีกอาการที่พบได้บ่อย กล้ามเนื้อส่วนนี้จะทำงานหนักมากเกินไปในระหว่างการเล่นพิคเคิลบอล และมักได้รับบาดเจ็บเมื่อต้องเคลื่อนไหวสะโพก

เท้าและข้อเท้า

หากกล้ามเนื้อส่วนล่าง เช่น กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อ quadriceps เอ็นร้อยหวาย ก้น กล้ามเนื้อขาหนีบและกล้ามเนื้อสะโพก ทำงานได้ไม่ดี ก็จะเป็นการชะลอความเร็วในการเคลื่อนไหวร่างกายไปข้างหน้า ถอยหลัง และซ้ายขวาลงได้

หัวไหล่

อาการตึงที่ข้อมือและเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด มักพบบ่อยในผู่เล่นพิคเคิลบอลเช่นกัน โดยอาการดังกล่าวมักเกิดจากการที่แขนไม่สามารถขยับหรือหมุนได้ดีเท่าที่ควร ทำให้ปวดบริเวณข้อต่อที่สำคัญที่สุดของหัวไหล่ คือ glenohumeral joint

การช่วยป้องกันผู้เล่นไม่ให้ได้รับบาดเจ็บและเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้น

การทำความเข้าใจในลักษณะของการเคลื่อนไหวตัวในขณะเล่นพิคเคิลบอลเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงจากการได้รับบาดเจ็บ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะการเล่นพิคเคิลบอลของคุณให้ดีขึ้นด้วย

วิธีป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการเล่นพิคเคิลบอล

การวอร์มอัพหรืออบอุ่นร่างกายก่อนลงสนามเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการได้รับบาดเจ็บจากการเล่นได้ โดยคุณสามารถดูวิธีวอร์มร่างกายก่อนเล่นพิคเคิลบอลได้จากบทความนี้ ซึ่งเป็นท่าพื้นฐานที่ทุกคนสามารถทำได้ และสามารถเพิ่มระดับความยากเข้าไปในแต่ละท่าได้ เพื่อเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งในแก่ร่างกายของคุณ

ที่มา: https://www.ideafit.com

Back to blog